พระพุทธเจ้า
อธิษฐานลอยถาดทอง
อธิษฐานลอยถาดทอง

คุณรู้หรือไม่ ทำไมคุณถึงนับถือศาสนาพุทธ เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย คนไทยส่วนใหญ่จึงนับถือสืบต่อ ๆ กันมา บางคนก็พอจะรู้ความหมาย บางคนก็ไม่สนใจอยากจะรู้เลย ที่จะรู้ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาของชาวพุทธที่นับถือในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็มีไม่มากนัก ยิ่งถามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร มาจากไหน ตรัสรู้อะไร ทำไมคนมากมายถึงนับถือศาสนาพุทธกัน เป็นชาวพุทธควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร แล้วคุณล่ะรู้คำตอบเหล่านี้ไหม หรือแค่นับถือศาสนาพุทธตามบัตรประชาชนเท่านั้น หากคุณสนใจลองมาอ่านหาความรู้กันแบบบ้าน ๆ ดู

 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร

โดยชาติกำเนิดแล้วพระพุทธเจ้าคือ เจ้าชายสิทธัตถะ เกิดในวรรณะกษัตริย์ พระบิดาคือ พระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสด์ พระมาดาคือ พระนางสิริมหามายา ได้อภิเษกกับพระนางพิมพา มีพระโอรสชื่อ ราหุล ครั้นเมื่อเสด็จประพาสในกรุงได้เห็นภาพของเหล่าประชาชนทุกข์ยาก ด้วยการแก่ชรา การเจ็บป่วยและการตาย ความยากจนทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ เจ้าชายสิทธัตถะจึงเกิดความสงสารและต้องการให้ประชาชนพ้นทุกข์ จึงได้สละความสุขส่วนตพระองค์ออกบวช เพื่อค้นหาสัจขธรรมอันที่จะทำให้คนได้พ้นทุกข์

 

กว่าจะตรัสรู้ (รู้แจ้ง)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้เวลา 6 ปีร่ำเรียนหาความรู้จากสำนักอาจารย์ต่าง ๆ ทั้งการทรมานกายตัวเองเพื่อให้บรรลุธรรม แต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนแนวคิดศึกษาธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากตัวพระองค์เอง และได้ตรัสรู้ (รู้แจ้งด้วยตนเอง) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนเหมือน ๆ กับเรา พระองค์ตัรสรู้สำเร็จด้วยความพยายามของพระองค์เอง ไม่ใช้เรื่องผีสาง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช้ใครมาดลใจ ไม่ใช้ใครมาสั่งให้เป็น ทรงตรัสรู้เหตุและผลอยู่ในตัวของมันเอง ซึ่งในอดีตยังไม่มีใครค้นพบ

 

พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร สอนอะไร

พระพุทธเจ้าค้นพบอริยสัจสี่ (หลักความจริง 4 ประการ) และทรงสอนให้เรารู้จักความจริงทั้งหลายที่คนในยุคสมัยโบราณยังไม่รู้ ยังเกี่ยวข้องและติดอยู่กับบ่วงต่าง ๆ นั้น และทรงสอนให้หลุดจากบ่วงทั้งหลายเหล่านั้น หลักความจริงเหล่านั้น คือ

  1. ทุกข์ ความทุกข์มีจริง ความทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่ การเจ็บและการตายที่ครอบงำสัตว์ทั้งปวงอยู่ ให้ต้องทนทุกขเวทนา สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์
  2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์มีจริง ตัณหาที่ทำให้เกิดทุกข์มีจริง ตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์หรือเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ทำให้เราได้รับทุกข์ คือความอยากได้ อยากเป็น ทุกข์ที่เกิดจากความเศร้าหมอง น้อยใจ ตรอมใจ เสียใจ พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ สิ่งเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเหตุแห่งทุกข์
  3. นิโรธ ความดับตัณหาดังกล่าวเสียได้ ก็จะพ้นทุกข์ เมื่อเรารู้เรื่องทุกข์ รู้ตัวทุกข์ แต่ไม่ใช่ว่าตัวเราจะทุกข์เท่านั้น ทุก ๆ คนก็ล้วนแต่ประสบกับความทุกข์เหมือนกัน ไม่มากก็น้อย พระพุทธเจ้าสอนให้เรากำหนดรู้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้นกับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
  4. มรรค วิธีปฏิบัติให้ถึงทางพ้นทุกข์ โดยอาศัยปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ประการ พระพุทธเจ้าสอนให้ลดตัณหา ค่อย ๆ ลดตัณหาทิ้งไป ไม่ข้องเกี่ยวกับตัณหาอีก เมื่อตัณหาค่อย ๆ ลดลง ความทุกข์ก็จะค่อย ๆ ลดลงด้วย

พระพุทธเจ้ายังสอนให้เรารู้จักทำความดี รักษาศีล (ศีลแปลว่าปกติ) คือรักษาความเป็นปกติของตนเองไว้นั่นเอง พระองค์ทรงสอนให้รักษาศีล 5 ประการ โดยการรักษาที่ใจ รู้จักคิด รู้จักเหตุผล พระองค์ทรงกำหนดศีลสำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป หมายถึงเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธนั่นเอง ให้พึงรักษาศีล รักษาความเป็นปกติ เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของเราชาวพุทธทั้งหลาย ศีล 5 ประการมีดังนี้

  1. งดเว้นการเบียดเบียน การทรมาน การทำร้าย การฆ่า
  2. งดเว้นจากการพูดเท็จ หลอกลวง เพ้อเจ้อ ให้ร้ายผู้อื่น
  3. งดเว้นจากการล่วงเกิน ล่วงละเมิดต่อผู้อื่น สิทธิของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างกาย ลูกเมีย สิ่งที่มีเจ้าของแล้ว
  4. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยักยอกของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของ หรืออื่น ๆ แม้เจ้าของจะรู้หรือไม่รู้ก็ยังห้าม
  5. งดเว้นจากการเสพติด อบายมุข เหล้า ยา ลิเก ละคร โทรทัศน์ เกมส์ การพนัน เงินทอง กาม และสิ่งที่จะทำให้เราหลงมัวเมาอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ๆ จนเกิดเป็นโทษต่อตัวเองและผู้อื่น

ลด ละ เลิก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้เรารู้จักลด ละ เลิก โดยค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป โดยเริ่มที่ค่อย ๆ เลิกคิดถึงสิ่งที่ผิด สิ่งที่ไม่ดี ตรึกตรองให้ดีก่อนว่าดีหรือไม่ดี ควรทำหรือไม่ควรทำ หากทำแล่วจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา เมื่อรู้ว่าไม่ดีก็ค่อย ๆ เลิก ค่อย ๆ ลดวันละนิด วันละหน่อย จนเป็นปกติก็ดี จิตใจก็จะดีขึ้น สงบมากขึ้น แล้วเราจะค่อย ๆ เลิกกระทำในสิ่งที่เป็นกรรมชั่วเหล่านั้นได้เอง โดยไม่ยากลำบากอย่างที่เราคิด อย่างที่เรากลัวว่าจะทำไม่ได้ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง

 

รู้จักใช้ชีวิต

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้จักการหาเลี้ยงชีพ รู้จักเก็บสะสมเงินทองเอาไว้เพื่อใช้สอยในอนาคต รู้จักใช้ในสิ่งที่ควรใช้ รู้จักคบคน รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่า ที่ควรช่วย รู้จักประมาณว่าจะช่วยเท่าไร ควรหรือไม่ รู้จักให้ความรัก ความเมตตา รู้จักหฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับคนอื่น ๆ ในสังคม รู้จักหน้าที่ของตนให้ใช้สติตรึกตรอง พิจารณาในสิ่งต่าง ๆ ที่ทำ ให้รู้จักรักษาสติ เมื่อมีสติ มีเหตุ มีผล เราก็จะมติดอยู่ในกุศลและอกุศล เราก็จพบแต่ความสุข ความเจริญสืบต่อ ๆ ไป

 

ความเชื่อที่ไม่ควรเชื่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังสอนให้เราไม่ควรเชื่ออะไรง่าย ๆ ให้ใช้สติพิจารณาให้ดีก่อนค่อยเชื่อ หรือค่อย ๆ ปฏิบัติตาม ทรงสอนให้ไม่ให้เชื่อในสิ่งเหล่านี้

  1. ไม่ให้เชื่อโดยการฟังตามกันมา
  2. ไม่ให้เชื่อโดยทำสืบต่อกันมา
  3. ไม่ให้เชื่อโดยตื่นข่าวลือ
  4. ไม่ให้เชื่อโดยอ้างตำรา
  5. ไม่ให้เชื่อโดยนึกเอาเอง
  6. ไม่ให้เชื่อโดยคาดคะเน
  7. ไม่ให้เชื่อโดยตรึกตามอาการ
  8. ไม่ให้เชื่อโดยพอใจว่าชอบ แค่ความเห็นของตน
  9. ไม่ให้เชื่อโดยเห็นว่าพอเชื่อได้
  10. ไม่ให้เชื่อโดยเห็นว่าเป็นครูของเรา

สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมง่าย ๆ ที่พอจะได้ถ่ายทอดให้ทราบกัน หากสนใจใคร่รู้มากยิ่งขึ้นมากกว่านี้ ก็สามารถหาอ่านได้จากหนังสือทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เลือก ๆ เอาในสิ่งที่เราอยากรู้ ที่เป็นประโยชน์แก่เรา และยิ่งถ้าหากเรารู้ เราเข้าใจ เราปฏิบัติตามคำสอนนั้น เราก็จะเป็นชาวพุทธ โดยสมบูรณ์ (ไม่ใช่ ชาวพุทธในบัตรประชาชน)

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.